นักวิเคราะห์การตลาด |
|
กลุ่มที่
2 บุคลิกภาพแบบที่ต้องการใช้เชาว์ปัญญา (Investigative) |
ชื่ออาชีพ |
|
นักวิเคราะห์การตลาด
Marketer, Marketing Analyst |
รหัสอาชีพ |
|
2-19.45
(TSCO) 1233 (ISCO) |
นิยามอาชีพ |
|
ผู้ประกอบอาชีพนี้ทำงาน
เกี่ยวกับการวิเคราะห์ เพื่อการวางกลยุทธ์ในการแข่งขัน ทางการตลาด เพื่อให้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์เหนือคู่แข่งขันทางการค้า
โดยอยู่ในกรอบของจรรยาบรรณ และจริยธรรม |
ลักษณะของงานที่ทำ |
|
คาดการณ์
สถานการณ์ มองและวิเคราะห์ก่อนการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ขององค์กร และการแข่งขันของคู่แข่งขัน
และวางกลยุทธ์ แผนการตลาดของสินค้าในระดับชุมชนท้องถิ่น ให้ผสมผสานกับระดับโลกได้
ต้องมีวิสัยทัศน์ ในการตลาดศตวรรษที่ 21 และในเวลาเดียวกันก็ต้องหาทางบริการถึงกลุ่มเป้าหมายลูกค้าอย่างทั่วถึง
โดยการใช้เครื่องมือ และ เทคโนโลยีที่มีอยู่ช่วยในการส่งข้อมูลข่าวสาร
นอกเหนือจากส่วนประสมทาง การตลาด 4 Ps คือ Product Planning, Pricing,
Place/Physical Distribution , Promotion and Advertising
โดยนำข้อมูลจากทุกหน่วยงานในองค์กร คือฝ่ายวิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์ (R&D)
ฝ่ายการเงินและฝ่ายการผลิต มาช่วยในการวางแผนกลยุทธ์การตลาด โดยต้องยึดหลักการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคมากที่สุดเพื่อให้หันมาสนใจซื้อสินค้าหรือร่วมมือด้วย
ในการวางสินค้าตัวใหม่ ซึ่งควรจะต้องเป็นนวัตกรรมจากวัตถุดิบในประเทศโดยใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ
เพื่อช่วยในการลด ต้นทุนการผลิต
นักการตลาดในระดับต้นจะทำงานในตำแหน่งต่างๆ ในฝ่ายการตลาดเพื่อเรียนรู้ถึงภาพตลาดโดยรวมเช่น
วางแผนกิจกรรมส่งเสริมการขาย, ประชาสัมพันธ์สู่กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ส่งจดหมายหรือ
วารสารการขาย หรือจัดทำไดเร็คเมล์สู่กลุ่มลูกค้า ทั้งขายตรงและออกร้านขายในงานเทศกาลต่างๆ
จัดนิทรรศการส่งเสริมการแสดงสินค้า ทำการส่งเสริมสินค้าร่วมกับ ผู้ค้าปลีก
ห้างสรรพสินค้า จัดข้อมูลรวบรวมรายชื่อลูกค้า ทำหน้าที่ลูกค้าสัมพันธ์เก็บข้อมูลในตลาดและประสานงานกับฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์
เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ก่อนสรุปรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ
นักการตลาด ต้องรู้ว่า ปัจจัยอะไรที่ผู้บริโภคใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า
เพื่อจะได้นำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์และช่วยประกอบการวางแผนกลยุทธ์การตลาดให้ดีและรัดกุมยิ่งขึ้น
ต้องวิเคราะห์ตลาดเกี่ยวกับความจำเป็นและความต้องการขอผู้บริโภคและพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป
ปัจจุบันองค์กรธุรกิจต่างๆ ต่างร่วมมือกันเป็นพันธมิตรทางธุรกิจอย่างไม่มีขีดจำกัดระยะทางและเวลาการผลิตและสั่งสินค้าย่นเข้าด้วยความเร็วของอินเทอร์เน็ต
ดังนั้น อุปสงค์และอุปทานที่ซับซ้อนของตลาดและผู้บริโภค โดยจะใช้กระบวนการขั้นตอนในการวางแผนการตลาด
ดังนี้
1. วางแผนการตลาด ทั้งกลยุทธ์ระยะสั้นและระยะยาว
2. วิเคราะห์และวิจัย หากลุ่มเป้าหมายเพื่อคาดการณ์เกี่ยวกับการผลิตสินค้า
กระบวนการผลิต งบประมาณที่ต้องใช้ และผลกำไรที่ควรจะได้
3. ปรับแผนงานและเสนอขออนุมัติจากผู้บริหาร
4. วางแผนกิจกรรมการขายและปฏิบัติตามแผนงานการขายในด้านราคา วิธีการขาย
ช่องทาง การขาย และการใช้สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์
5. บริหารการขายและการสั่งซื้อจากลูกค้า
6. ควบคุมดูแลการนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย ที่ตั้งไว้
7. ติดตามประเมินผลจากข้อมูลรายงานประเมินผล ทางคอมพิวเตอร์
8. ออกตรวจตลาดเพื่อทำการวิจัย เพื่อพร้อมปรับแผนกลยุทธ์และกลวิธีในการปฏิบัติงานได้ทันท่วงทีและเตรียมการรณรงค์โดยการโฆษณาสินค้าอย่างต่อเนื่อง
9. วางแผนและทำการเจาะตลาด (Market Penetration) เพื่อเพิ่มยอดขายของผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในตลาดปัจจุบัน
หรือชักชวนลูกค้าของคู่แข่งขันให้มาเป็นลูกค้าของตน หรือหาทางให้ผู้ที่ยังไม่ได้เป็นลูกค้ามาทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ของตน |
สภาพการจ้างงาน |
|
สำหรับผู้เพิ่งก้าวเข้าสู่อาชีพนักการตลาดจะทำงานอยู่ในส่วนส่งเสริมการตลาดการขาย
กิจกรรมส่งเสริมการตลาด ตรวจตลาดเพื่อทำการวิจัย เงินเดือนขั้นต่ำที่ได้รับประมาณ
7,500 บาท โดยมีค่ายานพาหนะให้ ทั้งนี้แล้วแต่เงื่อนไขสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ
มีสวัสดิการให้ตามกฎหมายแรงงาน ส่วนโบนัส และผลประโยชน์อื่นๆ ขึ้นอยู่กับผลประกอบการ
สำหรับนักการตลาดที่มีความสามารถในการวิเคราะห์การตลาดและวางแผนการตลาดขององค์กรได้อย่างชำนาญ
ค่าตอบแทนจะอยู่ในระดับเดียวกับผู้บริหารระดับสูง |
สภาพการทำงาน |
|
การวางแผนการตลาดต้องใช้
การออกตรวจตลาดทั่วประเทศ การออกเก็บข้อมูลสำหรับทำการวิจัย และการเข้าถึงลูกค้ารายบุคคล
และใช้เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารมาผสมผสานกัน ในการวางแผนการตลาด และการลดต้นทุนการผลิตลักษณะการทำงานจะต้องทำงานกันเป็นทีมใหญ่ร่วมกับฝ่ายบัญชี
ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดจำหน่าย ฝ่ายขาย ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ปัจจุบันองค์กรมีลักษณะความเป็นนานาชาติมากขึ้นในการวางแผนอาจมีการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษในที่ทำงาน
นักวิเคราะห์การตลาดต้องบริหารเวลาเป็น เพื่อติดตามสถานการณ์ทางการตลาด
อย่างสม่ำเสมออาจต้องทำงานในวันเสาร์ วันอาทิตย์ หรือวันหยุด ในการตรวจตลาดและการเจาะตลาดใหม่ |
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ |
|
1.
สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีทางด้านการบริหารธุรกิจ สาขาการตลาด เศรษฐศาสตร์
หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
2. มีความสนใจ ในการประเมินสถานการณ์ ทั้งของตนเอง และสถานการณ์ภายนอก
3. เข้าใจธุรกิจการตลาดและสินค้าในระดับโลก ภูมิภาค และประเทศอย่างถ่องแท้
4. เป็นนักสังเกตการสถานการณ์ วิเคราะห์สถานการณ์ ต้องเข้าใจกฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศ
5. ต้องรอบรู้ในสินค้าของคู่แข่งขัน
6. มีความเป็นผู้นำและกล้าตัดสินใจในการ แก้ปัญหา
7. รู้จักการใช้เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารการใช้คอมพิวเตอร์ ในการทำงาน
ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักการตลาดรุ่นใหม่
8. จัดสรรทรัพยาบุคลากรให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
9. สามารถเดินทางออกตรวจตลาดในต่างจังหวัด และต่างประเทศได้
10. ต้องใช้ภาษาอังกฤษได้ดี
11. กระตือรือร้นมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีประสานงานกับหน่วยงานที่ต้องการ
การสนับสนุนแผนการตลาด
ผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้ ควรเตรียมความพร้อมดังนี้: สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ
เพื่อเข้าสมัครสอบคัดเลือกศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย ในคณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการตลาด
คณะนิเทศศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรปริญญาตรี ใช้เวลาศึกษาตามปกติ
4 ปี |
โอกาสในการมีงานทำ |
|
แนวโน้มตลาดปัจจุบันจะเป็นของผู้ซื้อหรือบริโภคโดยแท้จริง
เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค นักการตลาดต้องมองหาตลาดเฉพาะ (Niche
Market) เพื่อเจาะเข้าทุกกลุ่ม เพื่อนำสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ไปสู่ตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
หรือ อี-คอมเมิร์ซ โดยไม่ลืมภูมิปัญญาไทยที่จะสร้างผลิตภัณฑ์ตราสินค้าไทยให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในระดับภูมิภาคและโลก
ขณะนี้การตลาดของโลกส่วนหนึ่งหรือมากกว่าครึ่งหนึ่ง ซื้อขายกันอยู่บนอินเตอร์เน็ต
ทำให้นักการตลาดต้องวิเคราะห์การตลาดจากข้อมูลการประมวลผลข้อมูลที่ออกมาจากทั้งอินเตอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ของพนักงานขาย
(ที่แสดงรหัสของรายการสินค้า ในแต่ละวัน แต่ละสัปดาห์ และทุกๆ เดือน)
ซึ่งพนักงานขายสินค้าจะสั่งสินค้าด้วยระบบเทคโนโลยีอันทันสมัยจากคลังสินค้าที่ใกล้ที่สุดไปส่งให้ลูกค้า
ซึ่งอาจอยู่ในบริเวณเดียวกัน หรือข้ามทวีป ดังนั้นต้องคำนึงถึงการให้ข้อมูลของสินค้าให้ผู้บริโภคทราบมากที่สุดเท่าที่จะมากได้
คุณภาพต้องมาก่อนและราคาต้องย่อมเยาว์ เพราะลูกค้าสามารถทราบข้อมูลต่างๆ
เหล่านี้จากโทรศัพท์มือถือพกพา นอกจากนี้ นักวิเคราะห์การตลาดควรจะตระหนักดีว่าการวิเคราะห์วางแผนออกสินค้าตัวใหม่ๆ
นั้น จะมีสมาคมคุ้มครองผู้บริโภคเข้ามาดูแลผลประโยชน์ของผู้บริโภค อีกทั้งกลุ่มองค์กร
เอ็นจีโอต่างๆ ทั้งใน และนอกประเทศ ที่ตั้งเครือข่ายประสานงานเพื่อแลกเปลี่ยนรายงานข้อมูลในกรณีที่ผู้บริโภคถูกเอาเปรียบ
และเสียประโยชน์จากการซื้อผลิตภัณฑ์ต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีเงื่อนไขทางการค้าที่กำหนดโดยองค์การระหว่างประเทศ
และประเทศคู่ค้า เช่น องค์การการค้าโลก (WTO) และการตัดต่อพันธุกรรมพืช
เป็นต้น
เนื่องจากการแข่งขันทางการค้าทั้งภายในและต่างประเทศมีความรุนแรงมากขึ้นนักวิเคราะห์
การตลาดที่มีความสามารถและมีประสบการณ์ยังเป็นที่ต้องการขององค์กรธุรกิจ
ปัจจุบัน เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการตลาด เจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลและสามารถใช้ทางด่วนข้อมูลข่าวสารได้
จะเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานอย่างมาก ในยุคของการก้าวเข้าสู่ธุรกิจ
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ |
โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ |
|
นักการตลาดในระดับต้นต้องสั่งสมเรียนรู้ประสบการณ์ในหน้าที่ต่างๆ
ของแผนกอย่างครบถ้วน ซึ่งต้องรู้และเข้าใจธรรมชาติของตลาดอุปโภคและบริโภค
แล้วยังต้องรู้จักธรรมชาติผลิตภัณฑ์สินค้าแต่ละตัว ขององค์กร ต้องมีความคิดในการผลิตสินค้าที่เป็นนวตกรรม
ซึ่งอาจใช้เวลาเรียนรู้ประมาณ 2 - 3 ปี จากนั้นควรเข้ารับการอบรมการทำแผนทางการตลาด
และแผนธุรกิจ เพื่อให้มีความรู้ขึ้นเป็นระดับผู้ช่วยผู้จัดการหรือผู้จัดการของแต่ละฝ่าย
การเป็นผู้จัดการของทางการตลาดของแผนก หรือเป็นผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดขององค์กรได้
ซึ่งอาจใช้เวลาประมาณ 5 -10 ปี นักการตลาดที่มีความสามารถจะได้รับความก้าวหน้าเป็นกรรมการผู้จัดการในองค์กรธุรกิจที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
หรือหน่วยงานที่มีแม่ข่ายอยู่ในต่างประเทศ |
อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง |
|
นักประชาสัมพันธ์
พนักงานขาย นักการวิจัยทางการตลาด วิจัยพฤติกรรมผู้บริโภค เจ้าหน้าที่ฝ่าย
วางแผนการผลิต ฝ่ายขายโฆษณา ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ ผู้จัดการตราผลิตภัณฑ์ |
แหล่งข้อมูลอื่น
ๆ |
|
หลักสูตรอบรมเพิ่มทักษะทางการตลาดจากสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย
เว็บไซต์การหางานต่างๆ และเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ
(ประเทศไทย) |